ม.มหิดล Griffith University ประเทศออสเตรเลีย สสส. และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ร่วมวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หวังช่วยกอบกู้สถานการณ์โลก

ม.มหิดล Griffith University ประเทศออสเตรเลีย สสส. และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ร่วมวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หวังช่วยกอบกู้สถานการณ์โลก

ม.มหิดล Griffith University ประเทศออสเตรเลีย สสส. และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ร่วมวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หวังช่วยกอบกู้สถานการณ์โลก”Nutrition transition” เปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของประชากรไทย

ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารของโลกไร้พรมแดน ทำให้ทุกคนทราบดีว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล นอกจากผลาญเงินแล้ว ยังทำลายสุขภาพ จึงได้มีการขับเคลื่อนมาตรการทางภาษีควบคุมสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพื่อช่วยกอบกู้สถานการณ์ดังกล่าวกันทั่วโลก

ทุกครั้งที่มีข่าวประกาศขึ้นภาษีสินค้าทำให้ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ยังมีรายได้เท่าเดิม การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น คือ ทางออกเดียวที่จะช่วยประคับประคองให้ทุกชีวิตยังคงไปต่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดรายจ่ายสำหรับเครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ยังช่วยลดป่วยและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศได้อย่างมหาศาล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าศึกษาวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประชากรไทยมาตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้เริ่มประกาศมาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เมื่อปี 2561 สนับสนุนโดยเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จนปัจจุบันงานวิจัยได้ดำเนินการมาถึงเฟส 3 พร้อมสรุปผลความคืบหน้า

จากการที่ได้มีการวางแผนขึ้นราคาสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยตั้งเป้าหมายการขึ้นภาษีสินค้าประเภทดังกล่าวให้ได้ร้อยละ 20 ในปี 2568 นั้นพบว่า ในช่วงแรกยังไม่ค่อยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค เนื่องจากสินค้าประเภทดังกล่าวยังคงขึ้นราคาไม่สูงมากนัก

แต่หากมีการขึ้นภาษีให้ได้ตามเป้าหมาย ติดตามพฤติกรรมการบริโภค และประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และผลิตภัณฑ์ทดแทนเพิ่มมากขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม(นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจนา หันจางสิทธิ์) ได้ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิท (Griffith University) ประเทศออสเตรเลีย ทำการวิจัยภายใต้”โครงการคาดประมาณผลกระทบทางสุขภาพจากมาตรการขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในประเทศไทย”

โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และด้านข้อมูลจากการสำรวจของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน การสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย และฐานข้อมูล Euromonitor

คาดการณ์ในระยะยาวว่า การขึ้นภาษีให้ได้ตามเป้าหมายจะส่งผลให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพประชาชนของรัฐได้สูงถึง 156.2 ล้านบาทในปี 2587 หรืออีก 22 ปีข้างหน้า

ซึ่งจากการสำรวจปริมาณการดื่มใน 16 ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูงเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2561 – 2564 พบว่า “เครื่องดื่มทางเลือก” ประเภทที่ไม่ใช่น้ำตาล ได้รับความนิยมสูงขึ้นนอกจากนี้ มาตรการทางภาษีของประเทศไทยยังได้รับคำชื่นชมและยกย่องจากนานาชาติ ในความเป็นผู้นำของประเทศและภูมิภาค ที่ใช้มาตรการทางการคลังเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพของประชากรในประเทศ

โดยทีมวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดสถานการณ์ “Nutrition transition” หรือ “การส่งผ่านทางโภชนาการ” ที่นิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตกเน้นอาหารพลังงาน อุดมไปด้วยไขมัน และน้ำตาล ที่โลกกำลังเผชิญได้ต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ