สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมกับ Nature Research Custom Media (NRCM) และอายิโนะโมะโต๊ะ จัดการประชุมPMAC 2023 Side Meeting หัวข้อ “Healthy Eating and Nutritional Profiling in Asia”

สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมกับ Nature Research Custom Media (NRCM) และอายิโนะโมะโต๊ะ จัดการประชุมPMAC 2023 Side Meeting หัวข้อ “Healthy Eating and Nutritional Profiling in Asia”

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานร่วมในการเปิดการประชุม การประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล  (Prince Mahidol Award Conference: PMAC) Side Meeting 2023 หัวข้อ “Healthy Eating and Nutrition Profiling in Asia” โดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมกับ Nature Research Custom Media (NRCM) และอายิโนะโมะโต๊ะ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ ห้องประชุม World Ballroom B ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (healthy diet) และการจัดทำโปรไฟล์สารอาหาร (nutrient profiling) เพื่อส่งเสริมนิสัยการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นในประเด็นทางโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอาหารเอเชีย ทั้งนี้การศึกษาวิจัยจากทั่วโลกพบว่า การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ร่วมกับการรักษาน้ำหนักตัว การออกกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวาน ลงได้ถึง 80% ในขณะที่ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียกำลังประสบปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนิสัยการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่นเดียวกับทวีปอื่นๆ

นอกจากนี้ ปริมาณการบริโภคเกลือ เป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากหลายประเทศในทวีปเอเชีย มีปริมาณการบริโภคเกลือมากเป็นอันดับต้นๆของโลก การบริโภคเกลือมากเกินไปเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โดยองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าการลดปริมาณการบริโภคเกลือ ให้เป็นไปตามคำแนะนำ จะทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคต่างๆดังกล่าว ได้ถึง ปีละ 2.5 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ และมาตรการ ที่หลากหลาย ตั้งแต่การให้ความรู้และรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนัก การเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเพิ่มกิจกรรมทางกาย และการดำเนินนโยบายส่งเสริมสุขภาพ

ที่มา: สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ