มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เปิดประชุมสามัญ ประจำปี 2566 เดินหน้าขับเคลื่อนการศึกษาไทย พร้อมขอบคุณพลังทุกภาคส่วนสำหรับรางวัล “ค่าของแผ่นดิน”

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เปิดประชุมสามัญ ประจำปี 2566 เดินหน้าขับเคลื่อนการศึกษาไทย พร้อมขอบคุณพลังทุกภาคส่วนสำหรับรางวัล “ค่าของแผ่นดิน”

เดินหน้าผนึกกำลังเพื่อการศึกษาไทยที่มั่นคงและยั่งยืน…มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี จัดการประชุมสามัญ ประจำปี 2566 คณะกรรมการมูลนิธิฯ เป็นปีที่ 4 ในรูปแบบออนไลน์ นำโดย องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (กลาง – แถวบน) ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ โดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง (ที่ 2 จากขวา – แถวบน) รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ภาคประชาสังคม และนายศุภชัย เจียรวนนท์ (ที่ 2 จากซ้าย – แถวบน) ประธานกรรมการมูลนิธิฯ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตลอดจนซีอีโอ คณะผู้บริหารจาก 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง และคณะทำงานมูลนิธิฯ เพื่อสานต่อภารกิจ ร่วมหารือและวางแผนงาน เดินหน้าความร่วมมือที่เข้มแข็งจากทุกภาคส่วน ในการร่วมยกระดับการจัดการการศึกษาในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีที่อยู่ในสังกัดสพฐ. จำนวน 5,570 แห่ง ทั่วประเทศ โดยมีผลการดำเนินงานสำคัญและความคืบหน้าตาม 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่

  1. การเปิดเผยข้อมูลโรงเรียนสู่สาธารณะอย่างโปร่งใส (Transparency)
  • พัฒนาระบบเก็บข้อมูล (School Management System) และขยายผลการใช้งานสู่โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีทั่วประเทศครบ 100% แล้ว
  • ตั้งเป้าหมายให้โรงเรียนมีผลการประเมินคุณภาพโรงเรียน (School Grading) ในระดับดี (Good) ขึ้นไป เพิ่มจาก 78% ในปีที่ผ่านมา เป็น 90% ของจำนวนโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีทั้งหมด
  1. กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanisms)
  • ได้ดำเนินการตามนโยบายโครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ซึ่งภาครัฐให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้นปีละ 500 คน ทำให้ปัจจุบันมี ICT Talent ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐรวม 2,000 คน ดูแล 4,100 โรงเรียนทั่วประเทศ
  • การระดมทุนโครงการ “คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” (Notebook for Education) ระยะที่ 3 มียอดบริจาคมาแล้วกว่า 45 ล้านบาท ผ่าน connexted.org
  • มีจำนวนผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ตั้งแต่ปีแรกรวม 1,567 คน ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า 93% ของเหล่า School Partner สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้ในระดับดีถึงดีมาก โดยตั้งเป้าจะเพิ่มองค์กรพันธมิตรเพื่อดูแลโรงเรียนให้ครบ 5,570 แห่งทั่วประเทศ
  1. การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers)
  • พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดอบรมครูมาแล้วกว่า 60,000 คน เสริมแกร่งทักษะในด้านต่างๆ อาทิ ทักษะในศตวรรษที่ 21 การ Coaching การเป็น Facilitator ภาษาอังกฤษทักษะดิจิทัลและความรู้ด้านจิตวิทยา
  1. เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum)
  • พัฒนาระบบสมุดพกดิจิทัล (Student Report Card) พร้อมหารือภาครัฐเพื่อเชื่อมระบบและขยายผลการใช้งานสู่ 30,000 โรงเรียนภายใต้ สพฐ. ทั่วประเทศ
  • ปัจจุบันนำร่องศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) ใน 27 โรงเรียนทั่วประเทศ และล่าสุด ภาครัฐเห็นชอบนำนโยบายดังกล่าวไปขยายผลในทุกโรงเรียนทั่วประเทศ
  • ส่งมอบชุดความรู้นวัตกรรมคุณธรรมคอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Moral Innovation) แก่ภาครัฐ พร้อมเดินหน้าขยายผลต่อเนื่อง
  1. การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures)
  • ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 5 ล้านบาท จัดทำ “โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการอบรม ออกแบบการจัดการเรียนรู้ PCARE เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ Digital Device Based Learning (DDBL) ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก” ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อดำเนินการจัดอบรมคุณครูในโรงเรียนที่ได้รับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

ทั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ล่าสุด คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัล “ค่าของแผ่นดิน” ประเภทโครงการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา ให้แก่มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ซึ่งเป็น 1 ใน 54 ผลงานที่ได้รับรางวัลจากการส่งเข้าประกวดรวม 847 ผลงาน ตอกย้ำความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน ที่ได้สร้างผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมและการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และในโอกาสนี้ ยังได้แนะนำ 3 เครือข่ายพันธมิตรใหม่ ได้แก่ บจ. เอ็ดดูเคชั่น อีซี่ (ไทยแลนด์) บจ. ฟู้ดแพชชั่น และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ทำให้ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ขยายเครือข่ายความร่วมมือรวมเป็น 50 องค์กร

จากภาพ

การประชุมสามัญ ประจำปี 2566 ครั้งนี้ มีองค์ประชุมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย

  • องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ (กลาง – แถวบน)
  • ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ ได้แก่
  • นางสาวตรีนุช เทียนทอง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ 2 จากขวา – แถวบน)
  • ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ 2 จากขวา – แถวที่ 2จากบน)
  • ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ซ้ายสุด – แถวที่ 3 จากล่าง)
  • พลโทณัฐพงษ์ เพราแก้ว ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ มูลนิธิฯ (ที่ 3 จากขวา – แถวที่ 2 จากบน)
  • คณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาสังคม ได้แก่
  • นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (ขวาสุด – แถวบน)
  • นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (ขวาสุด – แถวที่ 2 จากบน)
  • ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส (ซ้ายสุด – แถวที่ 2 จากบน)
  • นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มมิตรผล (ซ้ายสุด – แถวบน)
  • ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป (ที่ 2 จากซ้าย- แถวที่ 2 จากบน)
  • ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ นักวางยุทธศาสตร์ (ที่ 3 จากซ้าย- แถวที่ 2 จากบน)
  • ประธานกรรมการมูลนิธิ
  • นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ที่ 2 จากซ้าย – แถวบน)
  • คณะกรรมการ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่
  • นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (ซ้ายสุด – แถวที่ 3 จากบน)
  • นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ จำกัด (ที่ 2 จากซ้าย – แถวที่ 3 จากบน)
  • นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) (ที่ 3จากขวา – แถวที่ 3 จากบน)
  • นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ (ที่ 3 จากซ้าย – แถวที่ 3 จากบน)
  • นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (ที่ 2 จากขวา – แถวที่ 3 จากบน)
  • ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มเซ็นทรัล (ที่ 3 จากขวา – แถวที่ 4 จากบน)
  • นายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ที่ 3 จากซ้าย – แถวที่ 4 จากบน)
  • นางสาวพจณี คงคาลัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ขวาสุด – แถวที่ 3 จากบน)
  • นายวรวัฒน์ ศรียุกต์ ผู้อำนวยการด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล (ซ้ายสุด – แถวที่ 4 จากบน)
  • นายถิรวัฒน์ ดีสมบูรณ์ Director of Organization Capability Development เอสซีจี (ที่ 2 จากขวา – แถวที่ 4 จากบน)
  • นางวรรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (ขวาสุด – แถวที่ 4 จากบน)
  • นางวรุตม์สุรางค์ ธรรมอารี ผู้จัดการฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บมจ. ปตท. (ที่ 2 จากซ้าย – แถวที่ 4 จากบน)
  • นางสาวเพ็ญมาศ เฮงปริญญาธร VP ผู้จัดการฝ่ายผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย – แถวที่ 3 จากล่าง)

สำหรับองค์กรที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เพื่อร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คณะทำงานมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี โทร. 02-8581881-2 หรืออีเมล: [email protected] ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมของมูลนิธิฯ ได้ที่ connexted.org

FB: connexted.org

เกี่ยวกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Foundation)

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559 จากโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ภายใต้ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ต่อมาจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิในปี 2563 โดยมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่น ในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้มั่นคงและยั่งยืน ตามแนวทาง 5 ยุทธศาสตร์หลัก พร้อมเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้ามาส่งเสริมการศึกษาเยาวชนไทย

ปัจจุบัน มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนชั้นนำของไทยรวมแล้ว 50 องค์กร โดยมี 12 องค์กรเอกชน ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, กลุ่มเซ็นทรัล, บมจ. ซีพี ออลล์, บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, กลุ่มมิตรผล, กลุ่มปตท., ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), เอสซีจี, บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

ต่อมาในระยะที่ 2 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการอีก 19 องค์กร ได้แก่ บจ. ไทยฮอนด้า, บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น, บมจ. บ้านปู, บมจ. บีอีซี เวิลด์, บจ. เบอร์แทรม (1958), บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย), บจ. เอดู พาร์ค, โรงเรียนเอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่, บจ. โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์), บจ. เควี อิเล็กทรอนิกส์, บจ. เลิร์น คอร์ปอเรชั่น, บจ. แม็คเอ็ดดูเคชั่น, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, บจ. เอส เค โพลีเมอร์, บจ. สลิงชอท กรุ๊ป, ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย, บจ. ไทยโตชิบาอุตสาหกรรมไฟฟ้า และบจ. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี, บจ. เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย)

หลังจากนั้นในระยะที่ 3 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการ อีก 16 องค์กร ได้แก่ บจ. แอมิตี บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ บมจ. ซี.พี.แลนด์ บจ. เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส บมจ. เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บมจ. สยามแม็คโคร บจ. โพรนาลิตี้ บมจ. สมิติเวช กลุ่มธุรกิจ ทีซีพี บมจ. ทิปโก้แอสฟัลท์ บมจ. วีจีไอ ธนาคารออมสิน เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล และ บจ. ไตรโซลูชั่น และล่าสุด ในระยะที่ 3 นี้ มีเครือข่ายพันธมิตรใหม่เข้าร่วมอีก 3 องค์กร ได้แก่ บจ. เอ็ดดูเคชั่น อีซี่ (ไทยแลนด์) บจ. ฟู้ดแพชชั่น และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ที่มา: ทรู คอร์ปอเรชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ